ไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 คืออะไร
ไวัรสโคโรนา (Coronavirus) เป็นไวรัสที่ถูกพบครั้งแรกในปี 1960 แต่ยังไม่ทราบแหล่งที่มาอย่างชัดเจนว่ามาจากที่ใด แต่เป็นไวรัสที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ปัจจุบันมีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์นี้แล้วทั้งหมด 6 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้เป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน คือ สายพันธุ์ที่ 7 จึงถูกเรียกว่าเป็น “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่” และในภายหลังถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “โควิด-19” (COVID-19) นั่นเอง ดังนั้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และไวรัสโควิด-19 จึงหมายถึงไวรัสชนิดเดียวกัน
วิธีป้องกันไวรัสสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19
โดยวิธีการป้องกันสำหรับประชาชนทั้่วไป นอกเหนือจากบุคลากรที่มีโอกาศได้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ และวิธีการดูแลเบื้องต้นที่ทางกระทรวงสาธารณสุขแนะนำ คือ
- ควรกินอาหารแยกกัน งดอาหารดิบ
- สวมหน้ากากอนามัย
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปสถานที่คนพลุกพล่าน และประเทศสุ่มเสี่ยง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของในที่สาธารณะแล้วนำมาสัมผัสใบหน้า ควรล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสะอาด น้ำสบู่ หรือเจลล้างมือ
- หากมีอาการป่วยควรไปพบแพทย์ทันที
ซึ่งสถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบันยังคงมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในหลายๆประเทศ และประเทศไทยนั้นก็มียอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆและพบผู้เสียชีวิต 1 ราย
ไวรัสโควิด-19 สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างไร
- ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองเสมหะจากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย
ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ของเชื้อไวรัสโควิด-19
- ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าไวรัสโควิด-19 อยู่บนพื้นผิวได้นานเพียงใด ไวรัสอาจอยู่รอดได้ในไม่กี่ชั่วโมง โดยน้ำยาฆ่าเชื้อสามารถฆ่าเชื้อไวรัสไม่ให้สามารถแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดี
อาการของผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 มีอาการอย่างไร ?
- อาการทั่วไป ได้แก่ อาการระบบทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ ไตวาย หรืออาจเสียชีวิต
ถ้ามีการเดินสวนกับผู้ป่วยไวรัส COVID-19 จะสามารถติดโรคได้หรือไม่ ?
- การเดินสวนกันไปมาไม่สามารถติดโรคได้ เพราะโรคนี้ติดทางฝอยละออง ถ้าไม่มีการไอจาม ออกมา โอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถือว่าน้อยมาก นอกจากนี้พบว่าฝอยละอองจากน้ำลายสามารถพุ่งถึงกันได้หากอยู่ในรัศมีภายใน 1 เมตร จึงได้มีการกำหนดระยะห่างระยะที่ปลอดภัยคืออย่างน้อย 2 เมตร ในช่วงที่มีการระบาดของโรค
เชื้อไวรัสโควิด-19 จะสามารถติดต่อกัน ผ่านระบบท่อแอร์ที่ใช้ร่วมกันในสำนักงานได้หรือไม่ ?
- เชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้มีการแพร่กระจายทางอากาศ แต่มีการติดต่อกันทางการสัมผัส ดังนั้นการติดต่อกันผ่านทางท่อแอร์จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่อาจติดเชื้อจากคนที่อยู่ในบริเวณสำนักงานเดียวกันได้
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
- พยายามยืนรอในจุดที่มีผู้คนไม่แออัดมากนัก มีการสวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกันทุกครั้งที่ใช้บริการ พกแอลกฮอล์หรือเจลล้างมือที่มีความเข้มข้นมากกว่า 70% เพื่อทำความสะอาดมือที่ใช้จับหรือโหนราวรถเมล์ รถไฟฟ้า MRT BTS ทุกครั้งหลังใช้บริการ
ตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 เสียเงินเท่าไหร่ ?
- ขณะนี้ภาครัฐได้ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคฉุกเฉิน ทุกโรงพยาบาลต้องรับผู้ป่วยที่เข้าข่ายเสี่ยงทั้งหมด โดยหากตรวจพบเลือดเป็นผลบวก คือติดไวรัสโควิด-19 จะได้รับค่ารักษาฟรีทั้งหมด ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การตรวจหาไวรัสโควิด-19 ฟรี ต้องมีลักษณะอย่างไร ?
- 1. มีไข้ 37.5 °C ขึ้นไป พร้อมมีอาการ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ
- 2. มีประวัติเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วง 14 วัน ก่อนมีอาการ อาทิ
- เดินทางมาจากเขตโรคติดต่อ / พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
- ประกอบอาชีพที่สัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตโรคติดต่อ / พื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ / ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ
ประชาชนสามารถไปตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สถานที่ใดบ้าง ?
- คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
- คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รพ.ราชวิถี
- สถาบันบำราศนราดูร
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- รพ.บำรุงราษฎร์
- คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รพ.มหาราชนครราชสีมา
- คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
- รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ศูนย์วิจัยมาลาเรียโซโคล ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
- รพ.ลำปาง
- รพ.สวรรค์ประชารักษ์
- บริษัท ไบโอ โมเลกุลาร์ แลบบอราทอรีส์ (ประเทศไทย)
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายไทย)
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (ฝ่ายสหรัฐอเมริกา)
- สำนักป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง
- สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 สระบุรี
- รพ.นครปฐม